Month: May 2023

ระวังแมลงวันทองและโรคกุ้งแห้งทำลายช่วงผลเริ่มสุกและใกล้เปลี่ยนสี

พริกอยู่ระหว่างการเจริญเติบโต และเก็บเกี่ยวผลผลิต ขอให้ระวังแมลงวันทองพริกระบาดทำความเสียหายให้กับผลผลิต โดยตัวเต็มวัยจะวางไข่ในระยะผลพริกใกล้เปลี่ยนสีไปจนกระทั่งผลสุก หนอนกัดกินชอนไชอยู่ภายในผลพริก ทำให้ผลพริกเน่า ร่วงหล่น เมื่อหนอนโตเต็มที่จะเจาะออกมาเข้าดักแด้ในดิน วิธีการป้องกันกำจัดให้ทำความสะอาดแปลงปลูก เก็บผลพริกที่ร่วงหล่นนำออกไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันทองพริก เมื่อพบการระบาด ให้ใช้ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 83.9% EC อัตรา 60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรโดยเน้นพ่นที่ผลพริกทุก 5 – 7 วัน ในกรณีพื้นที่ที่พบการระบาดเป็นประจำ พ่นครั้งแรกเมื่อพริกเริ่มติดผล และหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 5-7 วัน ใช้วิธีผสมสาน…

Read More

ระวังโรคตายพรายหรือโรคเหี่ยวระบาดในกล้วย

ช่วงฤดูฝน เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังโรคตายพราย หรือโรคเหี่ยวระบาดในกล้วย ให้สังเกตอาการใบกล้วยด้านนอกเหลืองเหี่ยว หักพับตรงโคนของก้านใบ และทยอยหักพับตั้งแต่ใบรอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน ต้นกล้วยชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุด แนะไม่นำหน่อพันธุ์จากกอที่เป็นโรคไปปลูกหรือขยาย หากไม่แน่ใจให้ชุบหน่อพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช พร้อมหมั่นตรวจแปลง หากพบกล้วยแสดงอาการของโรคให้ขุดไปทำลายนอกแปลง เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยเฝ้าระวัง โรคตายพราย หรือโรคปานามา หรือโรคเหี่ยว สาเหตุจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. cubense พบโรคได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของกล้วย โดยให้สังเกตลักษณะต้นกล้วยที่มีอาการของโรคตายพรายใบกล้วยที่อยู่รอบนอกหรือใบแก่แสดงอาการเหี่ยวเหลือง ใบจะเหลืองจากขอบใบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลำต้นเทียม และจะทยอยหักพับตั้งแต่ใบที่อยู่รอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน ระยะแรกใบยอดยังเขียวตั้งตรง จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมาใบทั้งหมดจะเหี่ยวแห้ง เมื่อตัดลำต้นเทียมตามขวางหรือตามยาว จะพบเนื้อเยื่อภายในลำต้นเทียมเน่าเป็นสีน้ำตาลตามทางยาวของลำต้นเทียม…

Read More